เมนู

จริงอยู่ ธรรมเป็นกุศลก็มี เป็นอกุศลก็มี เป็นอัพยากตะก็มี ศัพท์
เหล่านั้นทั้งหมด เมื่อกล่าวแยกกัน บัณฑิตทั้งหลายในโลก ก็รับรองเพียง
ส่องความหมายของตน ๆ เมื่อกล่าวรวมกัน ก็ยอมรับเนื้อความที่เสมอกับของตน
และความที่ต่างกัน เพราะฉะนั้น คำใดที่ท่านกำหนดถึงเนื้อความที่เป็นอัน
เดียวกันและต่างกันในคำว่า กุสลา ธมฺมา นี้ และกระทำให้เป็นข้อที่ควร
ตำหนิ คำทั้งหมดนั้น จึงไม่ใช่เหตุสำคัญด้วยประการฉะนี้. การพรรณนาตาม
บทกุสลติกะเพียงเท่านี้ก่อน. แม้ติกะและทุกะที่เหลือ ก็พึงทราบโดยนัยนี้แล.

ว่าด้วยสุขเวทนาติกะที่ 2



ก็เบื้องหน้าแต่นี้ไป ข้าพเจ้าจักกล่าวถึงข้อที่แตกต่างกันเท่านั้น.
เบื้องต้นนี้ สุขศัพท์ ในคำว่า สุขาย เวทนา เป็นต้น ท่านใช้ในความหมาย
หลายอย่างมีคำว่า สุขเวทนา สุขมูล สุขารมณ์ สุขเหตุ สุขปัจจยฐาน
อัพยาปัชฌะ
และนิพพาน เป็นต้น.
จริงอยู่ สุขศัพท์นี้ใช้ในอรรถว่า สุขเวทนา ดังในประโยคมีอาทิว่า
สุขสฺส จ ปหานา (เพราะละสุขเวทนาได้) ใช้ในอรรถว่า สุขมูล ดังใน
ประโยคมีอาทิว่า สุโข พุทฺธานํ อุปฺปาโท สุขา วิราคตา โลเก
(ความบังเกิดขึ้นแห่งพระพุทธเจ้าทั้งหลายเป็นมูลแห่งความสุข การปราศจาก
ความกำหนัดเป็นมูลแห่งความสุขในโลก) ใช้ในอรรถว่า สุขารมณ์ ดังใน
ประโยคมีอาทิว่า ยสฺมา จ โข มหาลิ รูปํ สุขํ สุขานุปติตํ สุขา-
โวกฺกนฺตํ
(ดูก่อนมหาลิ ก็เพราะเหตุที่รูปมีอารมณ์เป็นสุข มีสุขตามสนอง
หยั่งลงสู่ความสุข) ใช้ในอรรถว่า สุขเหตุ ดังในประโยคมีอาทิว่า สุขสฺเสตํ
ภิกฺขเว อธิวจนํ ยทิทํ ปุญฺญานิ
(ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย คำว่า บุญทั้งหลาย